วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 8 (วันที่ 21 ธ.ค. 2552 - 26 ธ.ค. 2552)

บริษัท โตโยต้า เค.มอเตอร์ส ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด แผนกบริการ
สิ่งที่ได้จากการฝึกประสบการณ์ :
พนักงานเริ่มที่จะปรับตัวเข้ากลับการทำงานได้มากขึ้น บริษัทโตโยต้า ได้ทำการเปลี่ยนระบบใหม่ในการเปลี่ยนแปลงระบบใหม่การทำงานจึงต้องเปลี่ยนไปด้วยจะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับการทำงานทุกสถานะการณ์ ในส่วนระบบ New Potserv ใหม่สามารถที่จะลิ้งเข้าหากันได้ทุกศูนย์โตโยต้า เค.มอเตอร์ส เพื่อเป็นการเก็บประวัติของลูกค้าหรือตรวจสอบประวัติของลูกค้าว่าลูกค้าเคยตรวจเช็คสภาพรถหรือนำรถเข้าซ่อม ที่ทางศูนย์บริการของ เค.มอเตอร์ส ไหนมาบ้างแต่ถ้าเป็นระบบเก่าจะไม่สามารถลิ้งหากันได้

ปัญหา :
1.เวลาที่มีการเก็บหรือตรวจสอบประวัติของลูกค้าแต่ละคนซึ่งพนักงานรับรถ (S/A) จะเรียกตามคิวและเนื่องจากเป็นระบบใหม่จะล้าช้าไปบ้างอาจเกิดจากความไม่เคยชินของพนักงานในการเข้าระบบใหม่ทำให้โดนลูค้าบางรายบ่นหรือโดนด่าเล็กน้อย
2.การกลับรหัสลูกค้าระบบจะมีการรันข้อมูลช้ากว่าระบบเก่าและมีขันตอนที่สลับซับซ้อนกว่าระบบเก่าจะทำให้การทำงานช้าและเสียเวลาไปบ้าง

การแก้ใขปัญหา :
1.พนักงานลูกค้าสัมพันธ์จะเป็นคนรับนัดหมายและจะบอกกล่าวลูกค้าไว้ล่วงหน้าว่าตอนนี้ทางบริบัทโตโยต้าได้ทำการเปลี่ยนระบบจากระบบเก่าเป็นระบบใหม่สามารถที่จะลิ้งเข้าหากันได้ทุกศูนย์บริการอาจจะมีการล้าช้าไปบ้างและพนักงานลูกค้าสัมพันธ์ก็จะกล่าวคำขอโทษไว้ล่วงหน้า
2.ในการกลับรหัสลูกค้ามีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่าระบบเก่าเราจึงต้องทำให้ชำนานและชินในการพิมพ์เลขตัวถังเข้าไปจะต้องดูและตรวจทานเพื่อไม่ให้ผิดและเสียเวลาเพราะว่าระบบจะทำการรันข้อมูลช้าพอสมควร

วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 7 (วันที่ 14 ธ.ค. 2552 - 19 ธ.ค. 2552)

บริษัท โตโยต้า เค.มอเตอร์ส ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด แผนกบริการ
สิ่งที่ได้จากการฝึกประสบการณ์ :
เอกสารที่มีจำนวนเยอะ ๆ หรืองานต่าง ๆ ที่ต้องทำจำนวนมาก ๆ จะต้องมีเลขที่ของเอกสาร วัน เดือน ปี ของเอกสารนั้น ๆ เพื่อที่จะทำไห้ง่ายต่อการใช้งาน การตรวจสอบการทำงานย้อนหลังหรือการหยิบมาใช้งานจะได้รู้ว่าหยิบมาจากตรงไหนและเมื่อใช้งานเสร็จแล้วควรเก็บไว้ตรงไหนจะทำไห้ไสบสนไม่เสียเวลามากนักต่อการหาเอกสารงานต่าง ๆ และการเก็บเอกสารก็ควรแยกเป็นสัดส่วน อย่างเช่น เอกสารที่จะต้องใช้งานหรือตรวจสอบบ่อย ๆ ก็จะอยู่ไกล้ ๆ มือ หรือไกล้โต๊ะทำงานมากที่สุดหรือจะเก็บไว้ไนตู้เก็บเอกสาร โดยใส่ไว้ในแฟ้มและเขียนวันเดือนปีกำกับไว้ ส่วนพวกเอกสารย้อนหลัง 3-5 ปี ก็จะเก็บใส่ลังเอาไว้หอ้งเก็บเอกสารและเขียนแปะว่าเป็นเอกสารชนิดอะไร และวันเดือนปี ของเกสารนั้น ๆ
ปัญหา :
1.ในการเก็บเอกสารเข้าแฟ้มบางทีก็อาจจะเก็บเข้าแฟ้มเอกสารผิดแฟ้มหรือเก็บเอกสารตามเลขที่เอกสารแต่ไม่ได้ดูวัน เดือน ปีของเอกสาร
2. ในการเขียนเลขที่เอกสารหรือตรวจเช็คเลขที่เอกสารเอกสารอาจจะตกหล่นไปบ้างและเสียเวลาในการกลับมาแก้ไข
การแก้ไขปัญหา :
1. เอกสารต่าง ๆ เราจะดูแต่เลขที่ของเอกสารอย่างเดียวไม่ได้แต่จะต้องดู วัน เดื่อน ปี และชนิดของเอกสาร เพราะเอกสารบางอย่างไม่ใช่ชนิดเดียวกันแต่ลักษณะและสีคล้ายกันมาก
2. ในการเขียนเลขที่เอกสารเราจะต้องเขียน หรือตรวจเช็คเลขที่เอกสารใบต่อใบ เอกสารที่ทำการตรวจสอบจะได้ไม่ตกหล่น เพื่อความแหม่นยำ และไม่ทำไห้เสียเวลาย้อนกลับมาแก้ไขอีก

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 6 (วันที่ 7 พ.ย. 2552 - 12 ธ.ค. 2552)

บริษัท โตโยต้า เค.มอเตอร์ส ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด แผนกบริการ

สิ่งที่ได้จากการฝึกประสบการณ์ : ในสัปดาห์นี้ทางบริษัท โตโยต้า แผนกบริการได้มีการลงระบบ TOPSERV ตัวเก่าเป็นระบบ NEW TOPSERV ทางบริษัทจึงวุ่นวายเนื่องจากจะมีคนมาจากสาขาใหญ่เพื่อมาดูความเรียบร้อยของระบบและพนักงานแต่ละคนก็จะตึงเครียดเพราะแต่ละคนก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองในการเปลี่ยนแปลงจาก TOPSERV ตัวเก่าเป็นระบบ NEW TOPSERV ทำให้กระบวนการการทำงานหรือเอกสารบางอย่างเปลียนแปลงไปจากเดิมเช่น เอกสารชุดใบสั่งซ่อมจากแบบเก่าจะเป็นแนวนอนแบบใหม่ก็จะเป็นแนวตั้ง และมีการรันเลขที่เอกสารใหม่ ตัวอย่าง ชื่อเอกสารระบบเก่า ใบสั่งซ่อมGS เลขที่เอกสารระบบเก่า 09-15917 : ชื่อเอกสารระบบใหม่ ใบสั่งซ่อมGS เลขที่เอกสารระบบใหม่ GSJ-09-1591และยังมีงานอื่น ๆ อีกที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น แต่การจัดเรียงเลขที่เอกสารยังเหมือนเดิมคือเรียงจากมากไปหาน้อย

ปัญหา : ภายในแผนกบริการมีการเปลี่ยนแปลงระบบใหม่พี่ๆพนักงานก็จะต้องทำความเข้าใจและทำความคุ้นเคยกับระบบใหม่ที่จะต้องมีการเปลี่ยแปลงกระบวนการทำงานบางอย่าง พี่ๆก็เลยยังไม่ค่อยกระจ่ายงานให้ทำเนื่องจากกลัวว่างานจะผิดผลาดและพี่ ๆ ก็ยังไม่ชินกับระบบใหม่ด้วย

วิธีการแก้ปัญหา : ก็ต้องทำงานที่พอจะทำได้ไปก่อน อย่างเช่นการเรียงเลขที่เอกสาร การตรวจเช็คทะเบียนรถหรืองานเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงและในเรื่องของเอกสารบางอย่างต้องทำความเข้าใจใหม่และจะต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ

วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 5 (วันที่ 30 พ.ย. 2552 - 5 ธ.ค. 2552)

บริษัท โตโยต้า เค.มอเตอร์ส ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด แผนกบริการ

สิ่งที่ได้จากการฝึกประสบการณ์ : การตรวจเช็คเลขที่เอกสาร และการเรียงเลขที่เอกสารต้องทำอย่างรอบครอบมากที่สุด เพราะเป็นเอกสารที่สำคัญจะผิดพลาดไม่ได้ถ้าจะผิดก็ต้องผิดพลาดน้อยที่สุดเราต้องให้ความสำคัญกับงานที่เราทำเป็นอย่างมากในการทำงานแต่ละครั้งจะต้องตั้งใจทำงานให้มากที่สุดงานบางอย่างที่เราไม่แน่นใจว่าทำไปแล้วจะถูกต้องหรือไม่เราก็จะต้องถามพี่ๆก่อนหรือให้พี่ๆช่วยดูเพื่อที่จะทำงานได้อย่างถูกต้องและสมบรูณ์มากที่สุด

ปัญหา : ในการตรวจเช็คเลขที่เอกสารมีปัญหาที่เอกสารชุดใบสั่งซ่อมของบางวันไม่ได้คัดแยกใบแดงออก ใบแดงคือใบเบิกอะไหล่ซึ่งใบแดงจะต้องนำมาตรวจเช็คเลขที่เอกสารอีกทีเพื่อที่จะนำส่งห้องอะไหล่ และเอกสารบางชุดที่เช็คว่ามีแต่เมื่อมาตรวจแล้วปรากฎว่าไม่มีเนื่องจาเอกสารมีเยอะอาจจะลืมตรวจเช็คหรือคัดแยกออกไปบ้างสำหรับบางวัน

การแก้ปัญหา : งานที่เข้ามาใหม่ของแต่ละวันที่ทำอยู่ประจำก็ต้องตรวจสอบหรือตรวจเช็คไม่ให้ผิดผลาดโดยการตรวจเช็คเลขที่เอกสารบ่อย ๆ ก่อนที่จะเก็บเข้าแฟ้มหรือก่อนที่จะส่งตรวจ ส่วนงานเก่าที่ผิดผลาดก็ต้องตามแก้ไขโดยการตรวจเช็คเลขที่เอกใหม่ สำหรับชุดที่ยังไม่ได้คัดแยกใบเบิกอะไหล่ออกก็ทำการคัดแยกออกและส่งห้องอะไหล่ให้เร็วที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 4 (วันที่ 23 พ.ย. 2552 - 28 พ.ย. 2552)

บริษัท โตโยต้า เค.มอเตอร์ส ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด แผนกบริการ
สิ่งที่ได้จากการฝึกประสบการณ์ : ในการตรวจเช็คเลขที่เอกสารหรือในการเรียงเลขที่เอกสารทำให้เรามีสติมากขึ้นและมีสมาธิเพราะเอกสารสำเนาชุดใบสั่งซ่อมรถยนต์ และใบกำกับภาษีมีจำนวนมากในแต่ละวันเราต้องตรวจสอบและดูอย่างรอบรอบและตัวสำเนาชุดใบเสร็จ/ใบกำกับภาษีที่เป็นตัว Copy ที่แนบมาด้วยกันจะต้องเก็บรักษาให้ดีเพราะถ้าตกหล่น หาย หรือหาไม่เจอ ก็จะต้องรับผิดชอบใบละ 1,000 บาท ทำให้เราต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้นดูแล้วอาจจะเป็นงานที่ง่าย แต่เอกสารในแต่ละวันมีจำนวนไม่น้อยประมาณ 500-1,000 ชุด และต้องนำมาจัดเรียงใหม่ทั้งหมดโดยเรียงจากเลขที่เอกสารจากมากไปหาน้อยและทำการตรวจเช้คว่าเลขที่นี้มีหรือไม่มีและถ้าไม่มีก้เขียนหมายเหตุไว้ ว่าเพราะอะไรโดยดูจากใบรายงานหรือใบอ้างอิง
ปัญหา : เอกสารมีจำนวนที่มากในการเรียงเลขที่เอกสารจะทำให้สับสนและเรียงผิดหรือสลับเลขที่กันได้และทำให้เกิดความล่าช้าและในการเรียงเลขที่ JOB หรือเลขที่เอกสารชุดใบสั่งซ่อมจะต้องทำให้เสร็จก่อนเที่ยงเนื่องจากจะต้องส่งเพื่อที่จะเอาไปตรวจ
วิธีแก้ไขปัญหา : เมื่อเราเรียงเลขที่เอกสารเสร็จเราก็ต้องตรวจทานอีกหนึ่งรอบเพื่อความแน่ใจและเมื่อเราได้ JOB มาเราก็ต้องรีบแกะเอกสารและและนำมาเรียงเลขที่เอกสารเพื่อให้ทันกับเวลาโดยไม่เล่นไม่คุยกันระหว่างทำงาน ในการทำงานแต่ละครั้งจะต้องมีสติ สมาธิ และมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 3 (วันที่ 16 พ.ย. 2552 - 21 พ.ย. 2552)

บริษัท โตโยต้า เค.มอเตอร์ส ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด แผนกบริการ

สิ่งที่ได้จากการฝึกประสบการณ์ : การทำงานในสัปดาห์ที่3 เริ่มดีกว่าสัปดาห์แรก ๆ เริ่มมีความคุ้นเคยสามารถที่จะเข้าหาพี่ๆได้ทุกคน และสามารถแก้ไขข้อมูลของลูกค้าในฐานข้อมูล โดยการใส่รหัสลูกค้า เช่น เข้าไปเปลี่ยนชื่อลูกค้า แก้ไขเบอร์โทรของลูกค้าให้ถูกต้อง ตามสำเนาใบกำกับภาษีพี่ๆจะเรียกวิธีนี้ว่าการกลับรหัส และสามารถที่จะเข้าไปสอบถามข้อมูลลูกค้าหรือข้อมูลรถยนต์ในฐานข้อมูลของบริษัท และรู้วิธีการตรวจเช็คทะเบียนรถในการส่งมอบรถยนต์ของลูกค้าที่นำเข้ามาซ่อมหรือเช็คระยะตามกิโลเมตร

ปัญหา: ในการเข้าไปในโปรแกรมหรือฐานข้อมูลในการทำงานซึ่งเรายังไม่คล่องไม่ค่อยรู้รายละเอียดของโปรแกรมมากนักบางที่เรากดปุ่มผิดโปรแกรมมันก็ไม่สามารถที่จะกดหรือทำงานอะไรได้เลย และในการแก้ไขข้อมูลลูกค้าซึ่งเราจะต้องดูรหัสลูกค้าให้ดี ๆ เพราะสำเนาใบกำกับภาษีเป็นใบ Copy จะไม่ค่อยชัด เมื่อถ้าเรากดรหัสผิดหรือพิมพ์ชื่อลูกค้าผิดจะทำให้เราเสียเวลาในการพิมพ์รหัสลูกค้าเข้าไปใหม่

วิธีการแก้ปัญหา: ในการทำงานในโปรแกรมเราไม่ควรรีบเกินไปเพราะจะทำให้เรากดผิดและเมื่อกดผิดาโปรแกรมก็ไมสามารถทำอะไรได้เลยจึงต้องถามพี่ๆ และพี่ๆก็จะสอนวีธีเมื่อเวลาโปรแกรมไม่ทำงาน ในการกลับรหัสลูกค้าเมื่อพิมพ์ชื่อหรือรหัสลูกค้าเข้าไปแล้วก็ควรจะทำการตรวจสอบหรือตรวจดูรหัสหรือชื่อลูกค้าในสำเนาใบกำกับภาษี ถ้าสำเนาใบกำกับภาษีไม่ชัดเพื่อความแน่ใจก็จะถามพี่ที่อยู่แถวนั้นเพื่อที่เราจะได้ไม่เสียเวลากลับมาแก้ไขเมื่อพิมพ์ผิด

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 2 (วันที่ 9 พ.ย. 2552 - 14 พ.ย. 2552)

บริษัท โตโยต้า เค.มอเตอร์ส ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด แผนกบริการ
สิ่งที่ได้จากการฝึกประสบการณ์ :
ในสัปดาห์ที่ 2 ทำให้เรารู้กระบวนการทำงานเพิ่มมากขึ้นจากตอนแรกที่เราไม่รู้อะไรเลยและรู้ว่าเอกสารบางส่วนควรเก็บไว้ตรงไหนบ้างในการหยิบจับเอกสารหรือการเดินเอกสาร การใช้อุปกรณ์สำนักงานก็คล่องมากขึ้น และได้ใช้โปรแกรมพื้นฐานเพิ่มมากขึ้น เช่น Word, Excel เป็นต้น สิ่งสำคัญคือทำให้เรารู้ว่าทุกวันเวลา ทุกนาที มีค่ามากไม่ควรปล่อยเวลาให้ว่างป่าวโดยไม่ทำอะไรเลยถ้าเราปล่อยเวลาโดยไร้จุดหมายจะทำไห้เราพลาดโอกาศดี ๆ ไป

ปัญหา : ในการทำงานโปรแกรม Microsoft Word, Excel เครื่องมือบางอย่างเราอาจไม่ค่อยได้ใช้จึงทำให้เราลืมไปบ้างเวลาทำงานจึงอาจจะช้าไปบ้าง

วีธีการแก้ปัญหา : หาคู่มือมาอ่านหรือฝึกปัฏิบัติทบทวนเวลาว่าง ๆ หรือกลับจาก Office จะทำให้เราทำงานได้คล่องมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วิชา การฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 3 (3504804)

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 1 (วันที่ 2 พ.ย. 2552 - 7 พ.ย. 2552)
บริษัท โตโยต้า เค.มอเตอร์ส ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด แผนกบริการ

สิ่งที่ได้จากการฝึกประสบการณ์ : ในสัปดาห์แรกที่ได้เข้าไปฝึกงานมีการปรับ

ตัวให้เข้ากับคนในองค์กรทำให้เราสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความ

สุข ได้เรียนรู้วัฒนธรรมภายในองค์กรการทำงานที่เป็นระบบมีการประสานงาน

ร่วมกันของแต่คนแต่ละแผนก มีการนำความรู้ที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ใน

การทำงาน และได้รับความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น และได้เรียนรู้ในเรื่องของการ

ใช้อุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการทำงาน เช่น

การรับส่งFAX การใช้เครื่องถ่ายเอกสาร การรับโทรศัพท์ การใช้พิมพ์ดีดไฟฟ้า

การเดินเอกสาร ฯลฯ และได้รู้จักกับเพื่อน ๆ พี่ ๆ ภายในองค์กร


ปัญหา : ในการที่เข้าไปฝึกงานวันแรกซึ่งเราไม่รูจักกับใครเลยและไม่คุ้นเคย

กับสถานที่ที่เราไปฝึกงานเวลาทำงานจึงทำให้ไม่กล้าที่จะเข้าไปคุยจึงรู้สึก

อึดอัดและค่อนข้างมีอาการเกร่งนิดหน่อย

การแก้ปัญหา : ก็เริ่มจากเข้าหาการทำความรู้จักมีการพูดคุยกับพี่ ๆ ที่อยู่

ภายในองค์กร รู้จักมีสัมมาคารวะไปลามาไหว้ ตั้งใจทำงานตามที่ได้รับ

มอบหมายเมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยที่ไม่เข้าใจก็ถามพี่ ๆ

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552

แรม




RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผลจะต้องมีไฟเข้า Module ของ RAM ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็น chip ที่เป็น IC ตัวเล็กๆ ถูก pack อยู่บนแผงวงจร หรือ Circuit Board เป็น module เทคโนโลยีของหน่วยความจำมีหลักการที่แตกแยกกันอย่างชัดเจน 2 เทคโนโลยี คือหน่วยความจำแบบ DDR หรือ Double Data Rate (DDR-SDRAM, DDR-SGRAM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากเทคโนโลยีของหน่วยความจำแบบ SDRAM และ SGRAM และอีกหนึ่งคือหน่วยความจำแบบ Rambus ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีแนวคิดบางส่วนต่างออกไปจากแบบอื่น SDRAM

อาจจะกล่าวได้ว่า SDRAM (Synchronous Dynamic Random Access Memory) นั้นเป็น Memory ที่เป็นเทคโนโลยีเก่าไปเสียแล้วสำหรับยุคปัจจุบัน เพราะเป็นการทำงานในช่วง Clock ขาขึ้นเท่านั้น นั้นก็คือ ใน1 รอบสัญญาณนาฬิกา จะทำงาน 1 ครั้ง ใช้ Module แบบ SIMM หรือ Single In-line Memory Module โดยที่ Module ชนิดนี้ จะรองรับ datapath 32 bit โดยทั้งสองด้านของ circuiteboardจะให้สัญญาณเดียวกัน หน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM นี้พัฒนามาจากหน่วยความจำแบบ SDRAM เอเอ็มดีได้ทำการพัฒนาชิปเซตเองและให้บริษัทผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่อย่าง VIA, SiS และ ALi เป็นผู้พัฒนาชิปเซตให้ ปัจจุบันซีพียูของเอเอ็มดีนั้นมีประสิทธิภาพโดยรวมสูงแต่ยังคงมีปัญหาเรื่องความเสถียรอยู่บ้าง แต่ต่อมาเอเอ็มดีหันมาสนใจกับชิปเซตสำหรับซีพียูมากขึ้น ขณะที่ทางเอเอ็มดีพัฒนาชิปเซตเลือกให้ชิปเซต AMD 760 สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำแบบ DDR เพราะหน่วยความจำแบบ DDR นี้ จัดเป็นเทคโนโลยีเปิดที่เกิดจากการร่วมมือกันพัฒนาของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเอเอ็มดี, ไมครอน, ซัมซุง, VIA, Infineon, ATi, NVIDIA รวมถึงบริษัทผู้ผลิตรายย่อยๆ อีกหลายDDR-SDRAM เป็นหน่วยความจำที่มีบทบาทสำคัญบนการ์ดแสดงผล 3 มิติ ทางบริษัท nVidia ได้ผลิต GeForce ใช้คู่กับหน่วยความจำแบบ SDRAM แต่เกิดปัญหาคอขวดของหน่วยความจำในการส่งถ่ายข้อมูลทำให้ทาง nVidia หาเทคโนโลยีของหน่วยความจำใหม่มาทดแทนหน่วยความจำแบบ SDRAM โดยเปลี่ยนเป็นหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM การเปิดตัวของ GeForce ทำให้ได้พบกับ GPU ตัวแรกแล้ว และทำให้ได้รู้จักกับหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM เป็นครั้งแรกด้วย การที่ DDR-SDRAM สามารถเข้ามาแก้ปัญหาคอคอดของหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผลได้ ส่งผลให้ DDR-SDRAM กลายมาเป็นมาตรฐานของหน่วยความจำที่ใช้กันบนการ์ด 3 มิติ ใช้ Module DIMM หรือ Dual In-line Memory Module โดย Module นี้เพิ่งจะกำเนิดมาไม่นานนัก มี datapath ถึง 64 bit โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณที่ต่างกัน

Rambus นั้นทางอินเทลเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุนหลักมาตั้งแต่แรกแล้ว Rambus ยังมีพันธมิตรอีกเช่น คอมแพค, เอชพี, เนชันแนล เซมิคอนดักเตอร์, เอเซอร์ แลบอเรทอรีส์ ปัจจุบัน Rambus ถูกเรียกว่า RDRAM หรือ Rambus DRAM ซึ่งออกมาทั้งหมด 3 รุ่นคือ Base RDRAM, Concurrent RDRAM และ Direct RDRAM RDRAM แตกต่างไปจาก SDRAM เรื่องการออกแบบอินเทอร์-เฟซของหน่วยความจำ Rambus ใช้วิธีการจัด address การจัดเก็บและรับข้อมูลในแบบเดิม ในส่วนการปรับปรุงโอนย้ายถ่ายข้อมูล ระหว่าง RDRAM ไปยังชิปเซตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 4 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 4 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล เช่น RAM มีความเร็ว BUS = 100 MHz คูณกับ 4 pipline จะเท่ากับ 400 MHz วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนถ่ายข้อมูลของ RDRAM นั้นก็คือ จะใช้อินเทอร์เฟซเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Rambus Interface ซึ่งจะมีอยู่ที่ปลายทางทั้ง 2 ด้าน คือทั้งในตัวชิป RDRAM เอง และในตัวควบคุมหน่วยความจำ (Memory controller อยู่ในชิปเซต) เป็นตัวช่วยเพิ่มแบนด์วิดธ์ให้ โดย Rambus Interface นี้จะทำให้ RDRAM สามารถขนถ่ายข้อมูลได้สูงถึง 400 MHz DDR หรือ 800 เมกะเฮิรตซ์ เลยทีเดียว แต่การที่มีความสามารถในการขนถ่ายข้อมูลสูง ก็เป็นผลร้ายเหมือนกัน เพราะทำให้มีความจำเป็นต้องมี Data path หรือทางผ่านข้อมูลมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อรองรับปริมาณการขนถ่ายข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้ขนาดของ die บนตัวหน่วยความจำต้องกว้างขึ้น และก็ทำให้ต้นทุนของหน่วยความจำแบบ Rambus นี้ สูงขึ้นและแม้ว่า RDRAM จะมีการทำงานที่ 800 เมกะเฮิรตซ์ แต่เนื่องจากโครงสร้างของมันจะเป็นแบบ 16 บิต (2 ไบต์) ทำให้แบนด์วิดธ์ของหน่วยความจำชนิดนี้ มีค่าสูงสุดอยู่ที่ 1.6กิกะไบต์ต่อวินาทีเท่านั้น(2x800=1600)ซึ่งก็เทียบเท่ากับPC1600ของหน่วยความจำแบบDDR-SDRAM การเรียกชื่อRAM Rambus ซึ่งใช้เรียกชื่อรุ่นหน่วยความจำของตัวเองว่า PC600, PC700 และ ทำให้ DDR-SDRAM เปลี่ยนวิธีการเรียกชื่อหน่วยความจำไปเช่นกัน คือแทนที่จะเรียกตามความถี่ของหน่วยความจำว่าเป็น PC200 (PC100 DDR) หรือ PC266 (PC133 DDR) กลับเปลี่ยนเป็น PC1600 และ PC2100 ซึ่งชื่อนี้ก็มีที่มาจากอัตราการขนถ่ายข้อมูลสูงสุดที่หน่วยความจำรุ่นนั้นสามารถทำได้ ถ้าจะเปรียบเทียบกับหน่วยความจำแบบ SDRAM แล้ว PC1600 ก็คือ PC100 MHz DDR และ PC2100 ก็คือ PC133 MHz DDR เพราะหน่วยความจำที่มีบัส 64 บิต หรือ 8 ไบต์ และมีอัตราการขนถ่ายข้อมูล 1600 เมกะไบต์ต่อวินาที ก็จะต้องมีความถี่อยู่ที่ 200 เมกะเฮิรตซ์ (8 x 200 = 1600) หรือถ้ามีแบนด์วิดธ์ที่ 2100 เมกะไบต์ต่อวินาที ก็ต้องมีความถี่อยู่ที่ 266 เมกะเฮิรตซ์(8x266=2100)

อนาคตของRAM บริษัทผู้ผลิตชิปเซตส่วนใหญ่เริ่มหันมาให้ความสนใจกับหน่วยความจำแบบ DDR กันมากขึ้น อย่างเช่น VIA ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่ของโลกจากไต้หวัน ก็เริ่มผลิตชิปเซตอย่าง VIA Apollo KT266 และ VIA Apollo KT133a ซึ่งเป็นชิปเซตสำหรับซีพียูในตระกูลแอธลอน และดูรอน (Socket A) รวมถึงกำหนดให้ VIA Apolle Pro 266 ซึ่งเป็นชิปเซตสำหรับเซลเลอรอน และเพนเทียม (Slot1, Socket 370) หันมาสนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM แทนที่จะเป็น RDRAMแนวโน้มที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดของทั้ง DDR II กับ RDRAM เวอร์ชันต่อไป เทคโนโลยี quard pump คือการอัดรอบเพิ่มเข้าไปเป็น 4 เท่า เหมือนกับในกรณีของ AGP ซึ่งนั่นจะทำให้ DDR II และ RDRAM เวอร์ชันต่อไป มีแบนด์-วิดธ์ที่สูงขึ้นกว่างปัจจุบันอีก 2 เท่า ในส่วนของ RDRAM นั้น การเพิ่มจำนวนสล็อตในหนึ่ง channel ก็น่าจะเป็นหนทางการพัฒนาที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งนั่นก็จะเป็นการเพิ่มแบนด์วิดธ์ของหน่วยความจำขึ้นอีกเป็นเท่าตัวเช่นกัน และทั้งหมดที่ว่ามานั้น คงจะพอรับประกันได้ว่า การต่อสู้ระหว่าง DDR และ Rambus คงยังไม่จบลงง่าย ๆ และหน่วยความจำแบบ DDR ยังไม่ได้เป็นผู้ชนะอย่างเด็ดขาด